Pages

Home /00 /01 /02 / 04 / 05 / 06 / 07 / 08 / 09 / 10 / 11 / 12 /13 /14

ศิลปะดิจิทัล 2 แบบฝึกหัด ภาพหุ่นนิ่ง (Still life) และการเล่าเรื่องด้วยภาพ (Storyboard)




ภาพถ่ายโดย Harry Callahan

ให้นิสิตถ่ายภาพ สิ่งไม่มีชีวิต หรือ หุ่นนิ่ง (Still Life) ตามหัวข้อในสลากที่จับได้
ถ่ายภาพทั้งหมดจำนวนทั้งหมด 20 ภาพ ภาพสีหรือขาวดำก็ได้
ถ่ายภาพโดยมองช่องมองภาพ (viewfinder) และจัดองค์ประกอบภาพ จำนวน 10 ภาพ
และ ถ่ายภาพเชิงทดลอง หรือกดชัตเตอร์โดยไม่มองช่องมองภาพ จำนวน 10 ภาพ
เลือกภาพถ่ายที่ดีที่สุดมาอัดขยาย ในขนาด 8 x 10 นิ้ว

ส่งผลงานในคาบเรียน วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม 2553



ผลงานภาพถ่าย ของ Duane Michaels

หัวข้อ การเล่าเรื่องด้วยภาพ (storyboard)

นิสิตเรียนรู้กระบวนการเล่าเรื่องโดยใช้ภาพนิ่ง เรียนรู้การจัดเรียง หรือลำดับภาพ เพื่อใช้อธิบายลำดับของเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น
ให้นิสิตถ่ายภาพจำนวน 6-8 ภาพ เพื่อเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ 1 เหตุการณ์
และให้จัดเรียงภาพทั้งหมดในหน้ากระดาษขนาด A4 โดยใช้ โปรแกรม Adobe Photoshop
ส่งผลงานภาพภาพทั้งหมด 6-8 ภาพ และ ภาพทั้งหมดที่เรียงในหน้ากระดาษ
ภายในวันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม 2553

โครงการเยี่ยมชมแกลเลอรี่และหอศิลป์ในกรุงเทพ





โครงการเยี่ยมชมแกลเลอรี่และหอศิลป์ต่างๆ กลุ่มวิชาเอกศิลปะดิจิทัล สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในระหว่างวันที่ 18 – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คณะผู้เดินทาง

อ.เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์(อ.เจดย์) อ.ประทีป สุธาทองไทย(อ.หม่อม) นางสาวอุไรทิพย์ ผมหอม (จั๊บ จั๊บ) นายอาทิตย์ แก้วแสนไชย(อาทิตย์) นางสาวเจนจิรา อัสดร(อาร์เอ็น) นางสาวณัฐกานต์ ปัดภัย(ตำแตง) นายสันติชัย ทิพย์เนตร(เบิ้ม) นายเกริกชัย นุ้ยธารา(ระเบิด)
นายสิทธิชัย นามโคตร (เส) นายเกียรติพงษ์ ลงเย (ซุปเปอร์) นายอภิวัฒน์ ศรีดาพรหม (บั๊ดดี้ /พี่ใหญ่)
และอาจารย์ดอกเตอร์วุฒิพงษ์ โรจน์เขมศรี (อ.ต้อย) นำทีมนิสิตปริญญาโท จำนวน 9 คน (อ.ถวิล / อ.หมู / อ.เอ /เดี่ยว /ตั๊กแตน /อรุณ/ เหยี่ยว / กก / เย้)

สถานที่เยี่ยมชม

18 ธันวาคม 2552
หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท กรุงเทพ โทร. 02-350-3632 ต่อ 1526
100 ต้นสนแกลเลอรี่ 100 ซอยต้นสน ถนนเพลินจิตร ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 โทร. 02-684-1527
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวัน หัวมุม ถ.พระราม 1 และ ถ.พญาไท ตรงข้ามห้างมาบุญครอง และ สยามดิสคัฟเวอรี่ มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามกีฬาแห่งชาติ โทรศัพท์ 02-214 6630-8

19 ธันวาคม 2552
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ตั้งอยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ถนนหน้าพระลาน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๑-๓๘๔๑
หอศิลป์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถนนหน้าพระลาน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๑-๓๘๔๑
มิวเซียมสยาม: พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
อาคารเดอะสีลมแกลเลอเรีย 919/1 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ 10500 โทร. 02-2594210‎



20 ธันวาคม 2552
นำทอง แกลเลอรี่ ห้อง 109, 31 อาคารสหกรณ์เคหะสถานกรุงเทพฯ ถนน เทอดดำริ ดุสิต กรุงเทพมหานคร โทร. 02-243-4326
หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน เลขที่ 6 ซอยเกษมสันต์ 2 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-612-6741


ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
1,230 บาท ต่อคน (ค่าที่พักสองคืน รถตู้ น้ำมัน ทางด่วน อาหารเย็นหนึ่งมื้อ กาแฟ-โอวัลตินมื้อเช้าหนึ่งมื้อ )

ศิลปะดิจิทัล 2 แบบฝึกหัด ภาพถ่ายทิวทัศน์ (Landscape Photography)





ให้นิสิตถ่าย ภาพทิวทัศน์ (Landscape Photography) ภาพสี หรือ ขาวดำก็ได้ จำนวนทั้งหมด 10 ภาพ
คัดเลือกภาพที่ดีที่สุด และอัดขยายภาพนั้น ในขนาด 8 x 10 นิ้ว จำนวน 1 ภาพ
ส่งผลงานในคาบเรียน วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2552 เวลา 18:00 - 21:30 น.

ศิลปะดิจิทัล 2 แบบฝึกหัด ภาพบุคคล (portraiture)



ให้นิสิตถ่ายภาพบุคคล (Portraiture)

โดยถ่ายภาพเด็ก จำนวน 12 รูป
ถ่ายภาพวัยรุ่น จำนวน 12 รูป
ถ่ายภาพผู้เฒ่า จำนวน 12 รูป
ส่งผลงานในคาบเรียน (วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2552)

ศิลปะดิจิทัล 2 แบบฝึกหัด ทัศนธาตุ (composition)



ให้นิสิตถ่ายภาพ ในหัวข้อทัศนธาตุ (composition)
1. เส้น
2. สี
3. รูปทรง
4. น้ำหนักกลมกลืน
5. น้ำหนักขัดแย้ง
6. พื้นผิว
7. ที่ว่าง
8. จังหวะ
9. สัดส่วน
10. เคลื่อนไหว
ส่งผลงานจำนวน 10 ภาพ ในคาบเรียน (วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2552)

ศิลปะดิจิทัล 2 แบบฝึกหัด 36รูป (36 pictures)





ให้นิสิตถ่ายภาพ สิ่งที่ตนเองสนใจ จำนวนทั้งหมด 36 รูป
ภาพทั้งหมดต้องไม่ผ่านกระบวนการตกแต่งด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop
รวมทั้งต้องไม่มีการลบ หรือคัดเลือกภาพที่ดีมาส่ง
ส่งผลงานภาพถ่ายทั้งหมด 36 รูปในคาบเรียน วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2552

ศิลปะดิจิทัล 4

แผนการสอน ศิลปะดิจิทัล 4

สัปดาห์ที่ 1 บรรยาย
สัปดาห์ที่ 2 นิสิตนำเสนอแนวทางสร้างสรรค์ นำเสนอภาพร่างผลงานที่สมบูรณ์ ผู้สอนร่วมวิจารณ์
สัปดาห์ที่ 3 นิสิตนำเสนอความก้าวหน้าผลงานสร้างสรรค์
สัปดาห์ที่ 4 ประเมินผลงานสร้างสรรค์ชิ้นที่ 1

สัปดาห์ที่ 5 บรรยาย
สัปดาห์ที่ 6 นิสิตนำเสนอแนวทางสร้างสรรค์ นำเสนอภาพร่างผลงานที่สมบูรณ์ ผู้สอนร่วมวิจารณ์
สัปดาห์ที่ 7 นิสิตนำเสนอความก้าวหน้าผลงานสร้างสรรค์
สัปดาห์ที่ 8 ประเมินผลงานสร้างสรรค์ชิ้นที่ 2

สัปดาห์ที่ 9 บรรยาย
สัปดาห์ที่ 10 นิสิตนำเสนอแนวทางสร้างสรรค์ นำเสนอภาพร่างผลงานที่สมบูรณ์ ผู้สอนร่วมวิจารณ์
สัปดาห์ที่ 11 นิสิตนำเสนอความก้าวหน้าผลงานสร้างสรรค์
สัปดาห์ที่ 12 ประเมินผลงานสร้างสรรค์ชิ้นที่ 3

สัปดาห์ที่ 13 บรรยาย
สัปดาห์ที่ 14 นิสิตนำเสนอแนวทางสร้างสรรค์ นำเสนอภาพร่างผลงานที่สมบูรณ์ ผู้สอนร่วมวิจารณ์
สัปดาห์ที่ 15 นิสิตนำเสนอความก้าวหน้าผลงานสร้างสรรค์
สัปดาห์ที่ 16 ประเมินผลงานสร้างสรรค์ชิ้นที่ 4

ศิลปะดิจิทัล 3

แผนการสอน หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549)
สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รหัสรายวิชา 0602 205

ภาษาไทย ศิลปะดิจิทัล 3
ภาษาอังกฤษ Digital Arts 3

คำอธิบายรายวิชา
หลักการ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานตามหัวข้อที่กำหนด โดยเน้นการทดลองทางความคิด ฝึกทักษะและกรรมวิธีสร้างสรรค์ด้วยสื่อต่าง๐ และนำเสนอผลงานทัศนศิลป์อย่างเป็นระบบได้

จุดมุ่งหมายรายวิชา
1. เพื่อให้นิสิตมีกระบวนการสร้างแนวคิด และนำเสนอผลงานสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ
2. เพื่อให้นิสิตทดลอง และสร้างสรรค์ผลงานได้ตามหัวข้อที่กำหนด ด้วยเทคนิคที่หลากหลาย
3. เพื่อให้นิสิตสามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหา และพัฒนาผลงานได้ตามเวลาที่กำหนด

กิจกรรมการเรียนการสอน
1. บรรยายในหัวข้อของการสร้างสรรค์ พร้อมยกตัวอย่างผลงาน
2. นิสิตเสนอแนวคิดในการสร้างสรรค์ของตนเอง และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3. วิเคาะห์ วิจารณ์แนวคิด และวิธีการแสดงออกรวมถึงการนำเสนอผลงาน

การวัดและประเมินผลการเรียน
1. นิสิตต้องเข้าเรียน และส่งผลงานในระยะเวลาที่กำหนด ในแต่ละหัวข้อ
2. การวัดและประเมินผล จากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน กระบวนการทำงาน และผลงานสร้างสรรค์
3. ระบบการให้คะแนนของรายวิชา มีดังนี้

หัวเรื่อง คน 25 คะแนน
(การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน / การนำเสนอความคิด 5 คะแนน ความก้าวหน้า 10 คะแนน การนำเสนอผลงาน 10 คะแนน)

หัวเรื่อง แสง 25 คะแนน
(การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน / การนำเสนอความคิด 5 คะแนน ความก้าวหน้า 10 คะแนน การนำเสนอผลงาน 10 คะแนน)

หัวเรื่อง เวลา 25 คะแนน
(การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน / การนำเสนอความคิด 5 คะแนน ความก้าวหน้า 10 คะแนน การนำเสนอผลงาน 10 คะแนน)

หัวเรื่อง การสัมผัส 25 คะแนน
(การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน / การนำเสนอความคิด 5 คะแนน ความก้าวหน้า 10 คะแนน การนำเสนอผลงาน 10 คะแนน)

แผนการสอน ศิลปะดิจิทัล 3

สัปดาห์ที่ 1 บรรยายหัวข้อ คน โดยคณาจารย์ผู้สอน นิสิตร่วมอภิปราย
สัปดาห์ที่ 2 นิสิตนำเสนอแนวทางสร้างสรรค์ นำเสนอภาพร่างผลงานที่สมบูรณ์ ผู้สอนร่วมวิจารณ์
สัปดาห์ที่ 3 นิสิตนำเสนอความก้าวหน้าผลงานสร้างสรรค์
สัปดาห์ที่ 4 ประเมินผลงานสร้างสรรค์หัวข้อ คน

สัปดาห์ที่ 5 บรรยายหัวข้อ แสง นิสิตร่วมอภิปราย
สัปดาห์ที่ 6 นิสิตนำเสนอแนวทางสร้างสรรค์ นำเสนอภาพร่างผลงานที่สมบูรณ์ ผู้สอนร่วมวิจารณ์
สัปดาห์ที่ 7 นิสิตนำเสนอความก้าวหน้าผลงานสร้างสรรค์
สัปดาห์ที่ 8 ประเมินผลงานสร้างสรรค์หัวข้อ แสง

สัปดาห์ที่ 9 บรรยายหัวข้อ เวลา นิสิตร่วมอภิปราย
สัปดาห์ที่ 10 นิสิตนำเสนอแนวทางสร้างสรรค์ นำเสนอภาพร่างผลงานที่สมบูรณ์ ผู้สอนร่วมวิจารณ์
สัปดาห์ที่ 11 นิสิตนำเสนอความก้าวหน้าผลงานสร้างสรรค์
สัปดาห์ที่ 12 ประเมินผลงานสร้างสรรค์หัวข้อ เวลา

สัปดาห์ที่ 13 บรรยายหัวข้อ การสัมผัส นิสิตร่วมอภิปราย
สัปดาห์ที่ 14 นิสิตนำเสนอแนวทางสร้างสรรค์ นำเสนอภาพร่างผลงานที่สมบูรณ์ ผู้สอนร่วมวิจารณ์
สัปดาห์ที่ 15 นิสิตนำเสนอความก้าวหน้าผลงานสร้างสรรค์
สัปดาห์ที่ 16 ประเมินผลงานสร้างสรรค์หัวข้อ การสัมผัส

ศิลปะดิจิทัล 2

แผนการสอน ศิลปะดิจิทัล 2

สัปดาห์ที่ 1 บรรยายหัวข้อ หลักในการถ่ายภาพเบื้องต้น (Photography) โดยคณาจารย์ผู้สอน
สั่งงานแบบฝึกหัด 36 รูป
สัปดาห์ที่ 2 นิสิตนำเสนอ ผลงาน 36 รูป ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต
บรรยายหัวข้อ การจัดองค์ประกอบภาพ โดยคณาจารย์ผู้สอน
สั่งงานแบบฝึกหัด ทัศนธาตุ (composition)
สัปดาห์ที่ 3 นิสิตนำเสนอผลงาน ทัศนธาตุ ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต
บรรยายหัวข้อ การถ่ายภาพบุคคล (Portraiture)
สั่งงานแบบฝึกหัด ภาพถ่ายบุคคล
สัปดาห์ที่ 4 นิสิตนำเสนอผลงาน ภาพถ่ายบุคคล ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต
บรรยายหัวข้อ การถ่ายภาพทิวทัศน์ (Landscape)
สั่งงานแบบฝึกหัด ภาพถ่ายทิวทัศน์
สัปดาห์ที่ 5 นิสิตนำเสนอผลงาน ภาพถ่ายทิวทัศน์ ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต
บรรยายหัวข้อ การถ่ายภาพหุ่นนิ่ง (Still Life)
สั่งงานแบบฝึกหัด ภาพถ่ายหุ่นนิ่ง
สัปดาห์ที่ 6 นิสิตนำเสนอผลงาน ภาพถ่ายหุ่นนิ่ง ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต
บรรยายหัวข้อ การเล่าเรื่องด้วยภาพถ่าย (Storyboard)
สั่งงานแบบฝึกหัด การเล่าเรื่องด้วยภาพ
สัปดาห์ที่ 7 นิสิตนำเสนอผลงาน การเล่าเรื่องด้วยภาพ ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต
สัปดาห์ที่ 8 สอบกลางภาค
สัปดาห์ที่ 9 บรรยายหัวข้อ วีดีโอ อาร์ต (VDO Art)
สั่งงาน แบบฝึกหัดที่ 1 บันทึกภาพเคลื่อนไหวความยาว 1 นาที
สัปดาห์ที่ 10 นิสิตนำเสนอผลงาน ภาพเคลื่อนไหวความยาว 1 นาที
ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต
สั่งงานแบบฝึกหัดที่ 2 บันทึกภาพเคลื่อนไหว 3 ระยะ
สัปดาห์ที่ 11 สาธิตการใช้โปรแกรมตัดต่อภาพเคลื่อนไหว และการแปลงไฟล์ข้อมูลเป็นนามสกุลต่างๆ
ตัดต่อแบบฝึกหัดที่ 2 ในคาบเรียน
สั่งงานแบบฝึกหัดที่ 3 บันทึกภาพเคลื่อนไหวตามหัวข้อที่ได้รับ ได้แก่ เพื่อน หอพัก ตลาดน้อย การซ้อมดนตรี และเส้นทาง
สัปดาห์ที่ 12 นิสิตนำเสนอผลงาน บันทึกภาพเคลื่อนไหว 3 ระยะ ระยะเวลา 1 นาที
ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต
ตัดต่อแบบฝึกหัดที่ 3 ในคาบเรียน
สั่งงานแบบฝึกหัดที่ 4 บันทึกภาพเคลื่อนไหว ภาพขาวดำ หัวข้ออิสระ
สัปดาห์ที่ 13 นิสิตนำเสนอผลงาน ภาพเคลื่อนไหวตามหัวข้อที่ได้รับ ได้แก่
เพื่อน หอพัก ตลาดน้อย การซ้อมดนตรี และเส้นทาง ระยะเวลา 3 นาที
ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต
ตัดต่อแบบฝึกหัดที่ 4 ในคาบเรียน
สัปดาห์ที่ 14 นิสิตนำเสนอผลงาน ภาพเคลื่อนไหว ภาพขาวดำ หัวข้ออิสระ
ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต
สัปดาห์ที่ 15 สาธิตการใช้เทคนิคพิเศษ bluescreen
สัปดาห์ที่ 16 นิสิตนำเสนอผลงาน bluescreen หัวข้ออิสระ ประเมินผลงานและให้คำแนะนำแก่นิสิต สรุปเนื้อหาการเรียนการสอนในภาคการศึกษา พร้อมชี้แจงถึงเนื้อหาวิชาของ ศิลปะดิจิทัล 3

แผนการสอน ศิลปะดิจิทัล 1 (คอมพิวเตอร์และศิลปะจัดวาง)

ศิลปะดิจิทัล (คอมพิวเตอร์)

สัปดาห์ที่ 1 ศึกษาที่มาและความหมายของสื่อคอมพิวเตอร์ ประวัติความเป็นมา
ลักษณะและรูปแบบการนำมาใช้เป็นสื่อในการทำงาน
ค้นคว้าวิวัฒนาการของสื่อคอมพิวเตอร์ในสมัยต่างๆ
และศึกษาประโยชน์จากการใช้สื่อคอมพิวเตอร์แต่ละยุค
บรรยาย สรุป และ ค้นคว้าการนำเสนอข้อมูลเป็นรายบุคคล

สัปดาห์ที่ 2 ศึกษาส่วนประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เป็นหน่วยรับข้อมูล
หน่วยประมวลผล และหน่วยการแสดงผล
ฝึกทดลองแสดงการเชื่อมต่อส่วนประกอบของแต่ละหน่วยการทำงาน พร้อมศึกษาการทำงานเบื้องต้น ด้วยระบบปฏิบัติการ
โดยการทดลองใช้และการนำเสนอการทำงานแต่ละส่วน เป็นรายบุคคล

สัปดาห์ที่ 3 ศึกษาค้นคว้าระบบการทำงาน และรายละเอียดการใช้โปรแกรมกราฟิกเบื้องต้น
ทดลองการใช้งานโปรแกรมกราฟิก เพื่อฝึกปฏิบัติการสร้างข้อมูลพื้นฐานด้านการสร้างงานกราฟิก
ในลักษณะต่างๆ ในโปรแกรมพื้นฐานทั่วไป
ทดลองและปฏิบัติการจัดข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูลและการเก็บข้อมูลไว้ใช้งาน

สัปดาห์ที่ 4 ศึกษาและปฏิบัติการใช้โปรแกรม สร้างข้อมูลพื้นฐานจาก Microsoft Office
เน้นในส่วนการสร้างข้อมูลกราฟิก รูปแบบการสร้างตัวอักษร การตกแต่ง
การใช้งานภาพในโปรแกรม และการนำเสนอผลงานเป็นข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
ฝึกทดลองปฏิบัติสร้างตัวอักษรและการตกแต่ง
การใช้งานรูปภาพในลักษณะต่างๆ และการนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคล

สัปดาห์ที่ 5 ศึกษาและปฏิบัติการสร้างข้อมูลกราฟิก จากโปรแกรม Adobe Illustrator
โดยเน้นศึกษาและทดลองการสร้าง
การสร้างข้อมูลกราฟิกเบื้องต้น การออกแบบตัวอักษร และการสร้างเส้น (path)
รูปร่างรูปทรง (Shape and Form)
การบันทึกข้อมูล การแก้ไขข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูล ให้ทดลองปฏิบัติเป็นรายบุคคล

สัปดาห์ที่ 6 ศึกษา ค้นคว้าและปฏิบัติการสร้างข้อมูลกราฟิกพื้นฐาน
จากโปรแกรม Adobe Photoshop โดยเน้นการศึกษา และทดลองการสร้างข้อมูลพื้นฐาน
การสร้างและตกแต่งตัวอักษร และรูปภาพ รวมทั้งการจัดอง๕ปรพกอบเบื้องต้นของภาพ
ทดลองการจัดเก็บข้อมูลเป็นนามสกุลภาพ ในลักษณะรูปแบบไฟล์ (File)
การนำข้อมูลกลับเข้ามาแก้ไข และการนำข้อมูลไปใช้ โดยการเน้นปฏิบัติเป็นรายบุคคล

ศิลปะจัดวาง (Installation Art)

สัปดาห์ที่ 1 อธิบายความหมายและหน้าที่ของวัสดุ รวมทั้งลักษณะของพื้นที่ในแบบต่างๆ ทดลองสร้างสรรค์ผลงานจริงครั้งที่ 1 จำนวนผลงาน 1 ชิ้นขึ้นไป

สัปดาห์ที่ 2 อธิบายความหมายและหน้าที่ของวัสดุที่มาจากธรรมชาติ และเครื่องใช้ในท้องถิ่นชนบท ทดลองสร้างสรรค์ผลงานจริงครั้งที่ 2 จำนวนผลงาน 1 ชิ้นขึ้นไป

สัปดาห์ที่ 3 อธิบายความหมายและหน้าที่ของวัสดุสำเร็จรูปที่มาจาก อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
ทดลองสร้างสรรค์ผลงานจริงครั้งที่ 3 จำนวนผลงาน 1 ชิ้นขึ้นไป

สัปดาห์ที่ 4 อธิบายรูปแบบผลงาน Mixed Media Art และ Installation Art
ทดลองสร้างสรรค์ผลงานจริงครั้งที่ 1 จำนวนผลงาน 1 ชิ้นขึ้นไป

สัปดาห์ที่ 5 อธิบายความหมายและหน้าที่ของวัสดุ ที่สัมพันธ์กับพื้นที่ในสังคมชนบท
ทดลองสร้างสรรค์ผลงานจริงครั้งที่ 2 จำนวนผลงาน 1 ชิ้นขึ้นไป

สัปดาห์ที่ 6 อธิบายความหมายและหน้าที่ของวัสดุ ที่สัมพันธ์กับพื้นที่ในสังคมเมือง
ทดลองสร้างสรรค์ผลงานจริงครั้งที่ 3 จำนวนผลงาน 1 ชิ้นขึ้นไป
ให้นิสิตสรุปเนื้อหาและจัดทำแฟ้มผลงาน (portfolio) จำนวน 1 เล่ม ส่งอาจารย์ผู้สอน

ศิลปะดิจิทัล 1

แผนการสอน หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549)
สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รหัสรายวิชา 0602 215

ชื่อรายวิชา
ภาษาไทย ศิลปะดิจิทัล ๑
ภาษาอังกฤษ
Digital Arts 1

คำอธิบายรายวิชา

หลักการ และพัฒนาการออกแบบกราฟิก การสร้างภาพ
การใช้ซอฟ์แวร์คอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์ และนำเสนอเป็นผลงานทัศนศิลป์
และศึกษาหลักในการทดลองวัสดุในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ต่างๆเบื้องต้น
ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติงานสร้างสรรค์ในขั้นพื้นฐานได้

จุดมุ่งหมายรายวิชา

1. เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหา รูปแบบเบื้องต้นการใช้โปรแกรมการออกแบบกราฟิกในงานทัศนศลป์ทั้งสองประเภท
คือ ศิลปะดิจิทัล (คอมพิวเตอร์) Computer Art และศิลปะจัดวาง Installation Art
2. เพื่อให้นิสิตได้ฝึกทดลองทักษะและกรรมวิธีการ การเลือกใช้วัสดุและโปรแกรมต่างๆในศิลปะทั้งสองประเภท
3. เพื่อให้นิสิตสามารถเรียนรู้ หลักการและกระบวนการนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ

สังเขปเนื้อหาวิชา

ศึกษาเทคนิคเบื้องต้นในการปฏิบัติงานทัศนศิลป์ โดยตรงทางสื่อเทคโนโลยี และสื่อประเภทอื่นๆ ในลักษณะของภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว และศิลปะจัดวาง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ผ่านโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภาพในคอมพิวเตอร์
ความหมาย รวมทั้งลักษณะของวัสดุและพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ

กิจกรรมการเรียนการสอน

1. บรรยายในหัวข้อของการสร้างสรรค์ พร้อมยกตัวอย่างผลงาน
2. นิสิตเสนอแนวคิดในการสร้างสรรค์ของตนเอง และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3. วิเคาะห์ วิจารณ์แนวคิด และวิธีการแสดงออกรวมถึงการนำเสนอผลงาน

การวัดและประเมินผลการเรียน

1. การตรงเวลา การเข้าเรียน 10 คะแนน
2. ผลงานสร้างสรรค์ Computer Art/ Digital Art 40 คะแนน
3. ผลงานสร้างสรรค์ Installation Art 40 คะแนน
4. แฟ้มผลงาน Portfolio รายงานการค้นคว้า 10 คะแนน

คณาจารย์ผู้สอน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชำนาญ เล็กบรรจง
081-055-7981
email : chamnan.lek@gmail.com

อาจารย์เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์
089-610-8089
email: jedsadatree@gmail.com

อาจารย์ประทีป สุธาทองไทย
087-518-8529
email: prateep_mom@hotmail.com

อาจารย์ปรีชา นวลนิ่ม
085-045-6184
email: preecha.msu@hotmail.com

Page

Home /00 /01 /02/ 04 / 05 / 06 / 07 / 08 / 09 / 10 / 11 / 12 /13 /14